วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

เขตปกครองตนเองทิเบตหรือซีจั้ง

ผู้ว่าการเขตปกครองตนเอง เซี่ยงปาผิงฉั้ว
เมืองเอก ลาซา (拉萨)
Website : www.tibetinfor.com

เขตปกครองตนเองทิเบตหรือซีจั้ง(西藏)ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ ประเทศจีน ทิศเหนือติดกับเขตปกครองตนเองซินเจียงของชนเผ่าอุยกูร์และมณฑลชิงไห่ ตะวันออกเชื่อมมณฑลเสฉวน ตะวันออกเฉียงใต้ติดกับมณฑลหยุนหนัน และทิศใต้กับตะวันตกมีอาณาเขตติดกับประเทศพม่า อินเดีย ภูฐาน สิขิมและเนปาล เป็นต้น ซึ่งเป็นแนวตะเข็บชายแดนที่มีความยาวกว่า 4,000 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่กว่า 1.22 ล้านตร.กม.คิดเป็นอัตราส่วน 12.8% ของพื้นที่ประเทศจีน
ภูมิประเทศ
ทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสูงชิงจั้ง ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 4,000 เมตรขึ้นไป และเป็นดินแดนที่ได้รับสมญานามว่า ‘หลังคาโลก’ โดยส่วนหนึ่งของที่ราบสูงทางตอนใต้ของทิเบต มีแนวคดเคี้ยวของเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งมีระดับความสูงที่ 6,000 เมตรขึ้นไป เป็นระยะทางยาว 2,400 กิโลเมตร รวมถึงยอดเขาเอเวอร์เรสซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 8,848.13 เมตร
ทิเบตมีแม่น้ำสายหลักคือ แม่น้ำหยาหลู่จั้งปู้เจียง ซึ่งไหลผ่านหุบเขาใหญ่หยาหลู่จ้างปู้เจียง ที่มีความลึกเป็นที่สุดของโลก คือ 5,382 เมตร
ทรัพยากร
ทิเบตมีทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นแหล่งพลังงานอย่างอุดมสมบูรณ์ อาทิ พลังน้ำ พลังลม พลังงานความร้อน พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ปัจจุบัน ทิเบตสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าพลังน้ำที่ผลิตได้ถึง 56,590,000 กิโลวัตต์ คิดเป็น 15%ของทั้งประเทศ นอกจากนี้ ทิเบตยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุ พันธุ์ไม้ พืชสมุนไพร และสัตว์ป่านานาชนิดอีกด้วย
ภูมิอากาศ
เขตที่ราบสูงทางตอนเหนือของทิเบตมีภูมิอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง ฤดูหนาวมีอุณหภูมิเฉลี่ย -20 ถึง 10 องศาเซลเซียส ขณะที่ฤดูร้อนมีอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศา ความชื้นในอากาศตลอดปีต่ำกว่า 200 มิลลิเมตร ส่วนเทือกเขาทางตอนใต้และตะวันออกของทิเบตมีอากาศอบอุ่นชื้น เช่นเมืองลาซา หลินจือ ชาอวี๋ฯลฯ ในช่วงฤดูหนาวมีอุณหภูมิ -2 ถึง 8 องศาเซลเซียส ขณะที่ฤดูร้อนจะอยู่ที่ 15 – 22 องศา ความชื้นในอากาศประมาณ 438- 1,000 มิลลิเมตร

ประชากร
ประชากร(ปี 2003)ราว 2,701,700 คน อัตราการเกิด 17.4% อัตราการตาย 6.3% เพิ่มขึ้น 11.1%
ประกอบด้วยชนชาติจั้ง(ทิเบต) ฮั่น เหมินปา เกอปา หุยเป็นต้น ชนชาติที่มีสัดส่วนมากสุดคือ ชาวจั้งมี 2,411,100 คน คิดเป็น 92.2%ของประชากรในพื้นที่ และคิดเป็น 45%ของชนเผ่าจั้งทั้งประเทศ รองลงมาคือ ชาวฮั่น 155,300 คน คิดเป็นสัดส่วน 5.9% ภาษาท้องถิ่นที่ใช้คือ ภาษาจั้งหรือทิเบต

เศรษฐกิจ
ทิเบต มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือจีดีพี(ปี 2003)ประมาณ 18,459 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 12.1% โดยมีจีดีพีรายบุคคลเฉลี่ย 6,874 หยวน และมีสัดส่วนของภาคการผลิตได้แก่ ภาคการเกษตร 22.2% ภาคอุตสาหกรรม 26.1% ภาคการบริการ 51.7% เป็นครั้งแรกที่สัดส่วนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมสูงกว่าภาคการเกษตร
รายได้ทั้งปีของเขตนี้รวม 1003 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 14.9% โดยภาคอุตสาหกรรมมีมูลค่าเพิ่ม 1307 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 10.1%

การค้าระหว่างประเทศ
ทิเบต กลายเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของจีนในการติดต่อค้าขายกับประเทศต่างๆในโซน เอเชียใต้ เนื่องจากการเปิดตลาดการค้าตามเขตชายแดน 28 แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายกับประเทศเนปาล
ปี 2003 มีมูลค่าการส่งออก-นำเข้าคิดเป็น 161.13 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.6% โดยแบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 121.64 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 50.0% นำเข้า 39.49 ล้านเหรียญฯ ลดลง 19.8% โดยมีปริมาณการส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้น 42.3% ยุโรป 1.1 เท่า อเมริกาเหนือ 39.0%
ภาคธุรกิจที่สำคัญ
- การท่องเที่ยว เป็นภาคธุรกิจที่มีความสำคัญและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในเขตพื้นที่ นี้ เนื่องจากทิเบตมีทรัพยากรธรรมชาติที่งดงามไม่เหมือนใคร รวมถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวเมืองที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว เครือข่ายธุรกิจการท่องเที่ยว ได้แก่ยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี สิงค์โปร์ เนปาล ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน รวมถึงนักท่องเที่ยวจากภายในประเทศจีนเอง โดยมีเมืองลาซ่าเป็นศูนย์กลางแหล่งท่องเที่ยว ประสานกับพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวโดยรอบจนถึงเนปาล
- การแพทย์และยาสมุนไพร เนื่องจากทิเบตเป็นแหล่งกำเนิดตัวยาสมุนไพรหายาก อีกทั้งมีประวัติการแพทย์แผนทิเบตที่ยาวนานกว่า 2,000 ปี ปัจจุบัน จึงได้มีการนำเอาตัวยาสมุนไพรและวิชาความรู้ที่สั่งสมมาแต่อดีตมาผนวกเข้า ด้วยกัน ร่วมกับวิทยาการและหลักการแพทย์สมัยใหม่ผลิตเป็นเวชภัณฑ์ออกสู่ตลาดทั้งใน และนอกประเทศ โดยมีมูลค่าการผลิตกว่า 300 ล้านหยวน
- การผลิตอาหารและเครื่องดื่มปลอดสารพิษ เนื่องจากทิเบตมีทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชพันธุ์ที่หลากหลายอุดมสมบูรณ์ ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพนี้ได้รับการตอบรับ อย่างดี อาทิ น้ำแร่ธรรมชาติ เบียร์ ผลิตภัณฑ์จากพืช เป็นต้น
- สินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านและของที่ระลึก เช่นพรม และผลิตภัณฑ์จากขนสัตว์ และงานฝีมือประเภทต่าง ๆ
- อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ปัจจุบันอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของทิเบตมีมูลค่าการผลิตคิดเป็น 4%ของจีดีพีทั้งประเทศ

The Story of Power Metal

The Story of Power Metal
by DJ Wisss



ดนตรีเมทัลที่มาจากยุโรปอีกแขนงหนึ่งที่น่าสนใจ และน่าศึกษาคือ “เพาเวอร์เมทัล (Power Metal)” ซึ่งถ้าพูดถึงวงดนตรีในแนวเพาเวอร์เมทัลแล้ว หลายคนคงนึกถึงวงอย่าง Angra, Dragonforce, Nightwish หรือ Helloween มากกว่าวงดนตรีวงอื่นในแนวนี้ ซึ่งก็ไม่แปลกเพราะวงเหล่านี้ถือว่าเป็นหัวหอกสำคัญของวงการเพาเวอร์เมทัลเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตามยังมีวงเพาเวอร์เมทัลที่น่าสนใจอีกมากมาย ซึ่งบทความนี้จะเกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ และพัฒนาการที่สำคัญว่ากว่าจะมาเป็นเพาเวอร์เมทัลในยุคนี้นั้นเป็นอย่างไร ถ้ามีข้อผิดพลาดอะไรกรุณาติชมนะครับ เนื่องจากข้อมูลของดนตรีแนวนี้ยังคลุมเครืออยู่มาก ถ้ามีเกร็ดความรู้อะไรน่าสนใจก็โพสลงได้เลยครับ

เพาเวอร์เมทัลมีประวัติมายาวนานมากแล้ว ถ้าจะสืบกลับไปคงต้องพูดถึงยุคที่เมทัลจากอังกฤษเข้ามาบุกตลาดอเมริกาในช่วง ปลายยุค 70 ถึงต้น 80 อย่าง New Wave Of British Heavy Metal หรือ NWOBHM วงที่ถือว่าเป็นวงหัวหอกในกระแสนี้คือ Iron Maiden กับ Judas Priest โดยเฉพาะวงหลังนั้นเปรียบเสมือนแม่พิมพ์ของดนตรีเพาเวอร์เมทัลเลยทีเดียว


Power in the Beginning

ดนตรีเพาเวอร์เมทัลมีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศเยอรมันในช่วงปลายยุค 70 วงดนตรีวงแรกที่ถือว่าเป็นวงเพาเวอร์เมทัลก็คือ Running Wild ซึ่งฟอร์มวงกันตั้งแต่ยุค 70 แล้ว แต่กว่าจะมีผลงานก็ยุค 80 ซึ่งดนตรีของ Running Wild นั้น มีความรุนแรงและเร็วกว่าวงดนตรีในยุคนั้น แต่ก็ยังไม่มีศัพท์เรียกว่าเพาเวอร์เมทัล จึงเรียกรวมๆไปเลยว่า เมทัล หรือ เฮฟวี่เมทัล ถึงแม้จะไม่ได้ประสบความสำเร็จอะไรมากมายนักแต่ก็ทำให้นักฟังเพลงเมทัลหันมา สนใจดนตรีเมทัลที่มาจากเยอรมันไม่มากก็น้อย วงดนตรีที่มาจากเยอรมันในยุคนั้นได้แก่ Grave Digger, Rage, Accept, Warlock เป็นต้น (ซึ่งวงเหล่านี้ภายหลังถูกเรียกว่าเป็นเพาเวอร์เมทัลแทบทั้งสิ้น)


วงดนตรีที่ทำให้เพาเวอร์เมทัลประสบความสำเร็จและเป็นที่รู้จักวงกว้างในยุโรปคือ Helloween อัลบั้มคู่ที่ออกมาในปี 1987 อย่าง Keeper of the Seven Kays Part 1 และ 2 ทำให้วงการดนตรีทั่วยุโรปตื่นตลึงกับดนตรีเมทัลที่มีภาครึธึ่มหนักแน่น กลองควบตะบึง ทวินกีตาร์ลีด โซโล่ และเสียงร้องแหลมสูงปรี๊ดที่ถอดแบบของ เมทัลก๊อดยอดเกย์ Rob Halford แห่งวง Judas Priest มาเลย แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งความไพเราะและเมโลดี้ รวมทั้งเนื้อเพลงแบบคอนเซ็ป (Concept) ที่ออกไปทางแฟนตาซี นักรบ ดาบ เกราะ การผจญภัยตามหากุญแจศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 หรือเนื้อหาแฟนตาซีไซไฟโลกอนาคต เหล่านี้กลายเป็นมาตรฐานให้กับวงเพาเวอร์เมทัลยุคหลังทุกวง

เพราะเนื้อหาที่ออกไปทางแฟนตาซีเช่นนี้ ทำให้มีศัพท์มาเรียก Helloween ว่าเป็น “Happy Metal” (ไม่ใช่แฮปปี้มีล) แต่หลังจากที่มือกีตาร์และนักแต่งเพลงหลักของทางวงอย่าง Kai Hansen ลาออกจากวงไป Helloween ก้ไม่สามารถทำงานเยี่ยมๆแบบ Keeper 1 และ 2 ได้อีกเลย ส่วน Kai เองก็ออกไปฟอร์มวง Gamma Ray และได้ดิบได้ดีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ด้วยความสำเร็จที่ Helloween ทำไว้ ทำให้เกิดวงเพาเวอร์เมทัลตามมามากมายเป็นดอกเห็ด ได้แก่ Brainstrom, Primal Fear, Gamma Ray เป็นต้น และทำให้เกิดซาวนด์ในแบบ เยอรมัน เพาเวอร์เมทัล (German Power Metal) ขึ้น นั่นก็คือ เมทัลที่มีรึธึ่มพาร์ทหนักแน่น ทวินกีตาร์ลีด เสียงร้องสูงแต่ก็หนักแน่นและเข้มแข็ง (โดยเฉพาะ Primal Fear นี่ สูงมากๆ) แต่ดนตรีไม่ได้เน้นความเร็วถึงขั้นทะลุโลก แต่เป็นความเร็วที่หนักแน่นมั่นคงตลอดทั้งเพลง และเนื้อหาแนวแฟนตาซี ซึ่งทั้งหมดนี้ถอดแบบมาจาก Helloween แทบทั้งสิ้น


นอก จากในเยอรมันแล้วกระแสเพาเวอร์เมทัลจากประเทศแถบทางเหนืออย่าง สวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ก็แรงไม่แพ้กัน วงดนตรีจากประเทศฟินแลนด์อย่าง Stratovarius ก็เป็นวงที่ทำให้คนฟังหันมาสนใจวงเพาเวอร์จากแถบนี้ สไตล์การเล่นของ Stratovarius นั้นแตกต่างจากวงเพาเวอร์เมทัลจากเยอรมันค่อนข้างมาก กล่าวคือ เน้นความเร็วของทวินลีดที่ผสมซาวด์ของสวีดิชซึ่งมีส่วนประกอบของดนตรี Neo Classic สูง ซึ่งคนเล่นต้องมีนิ้วที่ไวเป็นกรดเลยทีเดียว ดนตรีเน้นออกไปทางความไพเราะ งดงาม พริ้วไหว ซึ่งมีความเป็นป๊อปค่อนข้างสูง ติดหูง่าย ซึ่งเราอาจจะเรียกดนตรีในแถบประเทศนี้ว่า “สวีดิช เพาเวอร์เมทัล (Swedish Power Metal)” หรือเรียกรวมไปว่า Melodic Power Metal วงดนตรีในแถบนี้ที่ประสบความสำเร็จตามมาคือ Sonata Artica, Nocturnal Rites, Hammerfall (Hammerfall เป็นวงเมทัลที่มาจากสวีเดนแต่เล่นซาวด์แบบเยอรมัน) นอกจากนี้วงเมโลดิกเดธชื่อดังอย่าง Children of Bodom ก็มีส่วนผสมของ เมโลดิก เพาเวอร์เมทัลที่มาจากแถบนี้

ส่วนวงการเพาเวอร์เมทัลในอเมริกานั้นไม่เติบโตเท่าที่ควร อาจเนื่องมาจากวงเมทัลในอเมริกาส่วนใหญ่มักเป็นแธรชและเดธแทบทั้งนั้น วงเพาเวอร์เมทัลที่ถือว่าสร้างชื่อเสียงแก่อเมริกาได้แก่ เทพเจ้าแห่งกล้ามเนื้อ (และเหงื่อไคล) “Mano War” นั่นเอง ซึ่งเล่นดนตรีเพาเวอร์เมทัลในแบบเยอรมัน Mano War ประสบความสำเร็จอย่างมากจนได้รับสถิติวงดนตรีที่เล่นได้ดังที่สุดในโลก (กี่เดซิเบลจำไมได้) และทำให้เกิดศัพท์คำว่า “Battle Metal” ซึ่งหมายถึงวงเพาเวอร์เมทัลที่เขียนเนื้อเพลงเกี่ยวกับสงครามนั่นเอง นอกจาก Mano War แล้ว American Power Metal ยังประกอบไปด้วย Iced Earth, Nevermore, Kamelot และ Symphony X ซึ่งประสบความสำเร็จในยุโรปแทบทั้งสิ้น (มันน่าไปเกิดยุโรปจริงๆพับผ่า)



Power in Mid

ในช่วงยุค 90 นั้นเพาเวอร์เมทัลก็ได้มาถึงทางตันของตัว มันเอง เนื่องจากเพาเวอร์เมทัลมีแพทเทิร์นที่ค่อนข้างตายตัว ทำให้วงแต่ละวงเล่นซาวนด์ออกมาไม่แตกต่างกันเลย (ฟัง 10 วงก็เล่นเหมือนกัน 10 วง) ท่ามกลางความน่าเบื่อนั้นเองก็มีวงเพาเวอร์เมทัลจากเยอรมันวงหนึ่งซึ่งทำ เพลงฉีกไปจากกระแสเลยนั่นก็คือ “Blind Guardian” อัลบั้มแรก “Battalion of Fear” ซึ่งก็ไม่ได้ต่างไปจากวงเพาเวอร์อื่นๆ แต่พอถึงอัลบั้ม “Tales from the Twillight World” ก็เริ่มมีการนำซาวด์เครื่องดนตรีพื้นเมืองเข้ามาใช้ผสมผสานมีการร้องประสาน เสียงในแบบโอเปร่า และสัดส่วนโครงสร้างดนตรีในแบบโปรเกรซซีฟ ทำให้ Blind Guardian โดดเด่นไปจากวงเพาเวอร์เมทัลในยุคนั้นมาก และเป็นสไตล์ที่ยากจะหาผู้ใดลอกเลียนแบบ

ในอิตาลีเองก็มีวงเพาเวอร์เมทัลสุดอลังการนั่นก็คือ Rhapsody ซึ่งแตกต่างไปจากวงเพาเวอร์เมทัลในรุ่นเดียวกันคือนำเอาซาวด์แบบซิมโฟนี ออเครสตร้า เข้ามาประกอบ ทำให้มีคนเรียกเพาเวอร์ชนิดนี้ว่า ซิมโฟนิก เพาเวอร์ เมทัล (Symphonic Power Metal) ซึ่งเมื่อฟังงานของ Rhapsody จะ ให้ความรู้สึกเหมือนกับได้ฟังสกอร์ภาพยนตร์ของหนังแฟนตาซีอย่างลอร์ด ออฟ เดอะ ริงค์ ขึ้นมาทันที นอกจากความอลังการของดนตรีแล้ว เนื้อเพลงยังเขียนออกมาเป็นคอนเซปต่อเนื่องยาวเหยียด ซึ่งยาวติดต่อกันถึง 5 อัลบั้มเลยทีเดียว เนื้อหาออกไปทางนักรบ ดาบ เกราะ การต่อสู้กับมังกรไฟ ต่อสู้กับปิศาจร้ายเพื่อตามหาดาบศักดิ์สิทธิ์ และทำให้เกิดศัพท์ตามมาว่า Epic Power Metal คือวงเพาเวอร์เมทัลที่แต่งเนื้อหาเป็นเรื่องราวยาวเหยียดนั่นเอง ซึ่งนอกจาก Rhapsody แล้วก็ยังมีวงอย่าง Avantasia ซึ่งเป็นโปรเจคของนักร้องนำของวง Edguy

ส่วนในฟินแลนด์นั้นก็มีวง Nightwish ซึ่งโดดเด่นด้วยการผสมเอาซาวด์ในแบบของ Gothic เข้าไปที่เห็นได้ชัดคือในชุด Oceanborn ซึ่งมีดีกรีของดนตรีสวีดิชเพาเวอร์เมทัลสูงมาก แต่หลังจากนั้นทางวงก็ลดดีกรีความแรงลง แล้วหันมาทำดนตรีที่ออกไปทางกอธิคมากกว่า ซึ่งที่โดดเด่นอีกอย่างคือ น้ำเสียงของ Tarja (ปัจจุบันออกจากวงไปแล้ว) ที่ทรงพลังและดูลึกลับ และเป็นนักร้องที่เป็นผู้หญิงซึ่งมีเพียงไม่กี่คนในวงการนี้ (นอกจาก Nightwish ก็มี Sinergy และ Doro แต่ก็ไม่โดดเด่นเท่า) ซึ่งผมเองก็หวั่นเกรงว่าหลังจากการออกไปของ Tarja Nightwish จะยังประสบความสำเร็จอยุ่อีกไหม

ถึงแม้บราซิลจะตกรอบ (นอกเรื่องๆ) ก้ยังมีงานเพาเวอร์เมทัลดีๆให้ฟังอยุ่คับ อย่าง Angra นั่นไง ซึ่งนำดนตรีของบราซิลอย่างฟลามิงโก้ เครื่องเคาะ และความเป็นโปรเกรซซีฟ เข้ามาผสมผสาน เพลงดังๆที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันดีคงไม่พ้น Nova Era, Carry On, Angle Cry หรือเพลงเพาเวอร์บัลลาดอย่าง Rebirth เป็นต้น นอกจาก Angra แล้วก็ยังมี Shaman ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกของ Angra



Power Metal in Future

วงที่ถือว่าเป็นอนาคตของวงการเพาเวอร์เมทัลในตอนนี้ในทัศนะของผู้เขียน มี 3 วงคือ Angra, Edguy และ Dragonforce สำหรับ 2 วงแรกนั้นไม่ใช่วงหน้าใหม่ถอดด้ามแต่อย่างใด มีผลงานออกมาหลายชุดแล้ว ซึ่งประสบความสำเร็จมากขึ้น และสามารถขยายกลุ่มแฟนเพลงออกไปได้เรื่อยๆ จนเป็นความหวังของวงการไปโดยปริยาย โดยเฉพาะ Edguy ซึ่งถือได้ว่าเป็นวงเพาเวอร์เมทัลที่เขียนเมโลดี้ออกมาดีมาก นอกจากนี้ยังเป็นวงที่สืบทอดเจตนารมย์ของ Happy Metal ได้ ดีและชัดเจนที่สุดวงหนึ่งเลยทีเดียว กับเนื้อเพลงที่สนุกสนาน กับการเอนเตอร์เทนที่เฮฮาและยียวนกวนโอ๊ยที่สุดเวลาที่พวกขึ้นแสดงบนเวที พวกเขาจึงเป็นวงเพาเวอร์เมทัลที่มาแรงที่สุดวงหนึ่งในช่วงเวลานี้ ซึ่งอัลับ้มใหม่อย่าง Rocket Ride ก็ประสบความสำเร็จอย่างสูง

ส่วนอีกวงที่มาแรงมากๆใน่ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคือ Dragonforce วงเมโลดิก เพาเวอร์เมทัลจากเกาะอังกฤษซึ่งเคยมาเปิดคอนเสิร์ตที่เมืองไทยไปแล้ว (ซึ่งผมพลาดไปอย่างน่าเสียดายและไม่น่าให้อภัย) ดนตรีของ Dragonforce เป็นเพาเวอร์เมทัลที่เล่นเร็วและแรงมากๆ โดยผสมสัดส่วนไลน์กลองในแบบเดธเมทัลเข้าไปด้วย จึงเรียกว่ากระหน่ำกันจริงๆ โซโล่ยาวเหยียดเปี่ยมเทคนิกในแบบของนีโอ คลาสสิค และประกอบด้วยลูกทวีนโซโล่ที่สร้างชื่อให้กับวง ที่เรียกว่า Twin Blast (เอาเข้าไป) ใส่กันแบบไม่มีเกรงใจและไม่มียั้ง Dragonforce ประสบความสำเร็จมากๆจนได้เซ็นสัญญากับทาง Roadrunner ซึ่งเป็นวงเพาเวอร์เมทัลไม่กี่วงที่ได้มาอยู่กับสังกัดนี้

แต่อย่างไรก็ตามในความเห็นของผู้เขียน รู้สึกว่าดนตรีของ Dragonforce จะค่อนข้างหยาบกระด้างในเรื่องอขงเมโลดี้ คือเน้นมีนกันอย่างเดียว ไม่ได้เน้นการเขียนเมโลดี้ออกมาให้ปราณีต ซึ่งอาจจะไม่ถูกใจขาเพาเวอร์บางท่าน แต่ถ้าคนที่ชอบวงนี้ขอบอกได้เลยว่าอนาคตของทางวงไกลมาก (ถ้าเกิดไม่มีอันแตกดับไปก่อน) เพราะนับวันดนตรีจะยิ่งโหดและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และน่าจะเปิดมิติใหม่แก่วงการนี้ได้ในที่สุด

ในประเทศไทยเองวงการนี้ยังไม่เจริญเติบโตมากนัก วงที่ถือว่าเป็นที่เชิดหน้าชูตาได้ของดนตรีในสายนี้คือ Nathania ซึ่งมีผลงานออกมาแล้ว 1 อัลบั้ม กับ 1 อีพี ส่วนชุดเต็มชุดที่ 2 อยู่ในระหว่างการทำ คงต้องรอกันต่อไปซักนิด (เพลงแรกผมได้ฟังแล้ว ฮึกเหิม อลังการดี) ส่วนอีกวงที่พึ่งมีผลงานในอัลบั้มรวมเพลง Metal Farm Vol.1 อย่าง Eurasia ซึ่ง เขียนเนื้อร้องออกมาเป็นภาษาไทยก็น่าติดตามผลงานต่อไปในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามวงการนี้คงเจริญไม่ได้ถ้าคนไทยไม่ช่วยสนับสนุนกันครับ ถ้าท่านสนใจเพาเวอร์เมทัลก็ลองหาฟังกันดูครับแล้วจะไม่ผิดหวัง